บทความ

เหตุฟ้องหย่า มี 10 ประการ

เหตุฟ้องหย่า

เหตุฟ้องหย่า

เหตุฟ้องหย่า มี 10 ประการดังนี้

การสิ้นสุดแห่งการสมรส มาตรา 1501

1. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1501
2. การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1502

สิ้นสุดการสมรสโดยการหย่า ซึ่งทำได้ 2 วิธี

          1. หย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
          การสมรส ถือเป็นสัญญาทางแพ่งอย่างหนึ่ง เมื่อจะเลิกกันก็สามารถตกลงเลิกกันได้ โดยการหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อย 2 คน ตามมาตรา 1514
          ป.พ.พ. มาตรา 1514 “การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล
          การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน”
          หนังสือที่ตกลงหย่ากันนั้นจะต้องมีข้อความที่อ่านเข้าใจได้ว่า ทั้งสองฝ่ายยินยอมหย่าขาดกันโดยเด็ดขาด โดยคำนึงถึงเจตนาแท้จริงของสามีภริยา ส่วนหนังสือหย่าที่มีข้อความว่าไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไป แม้จะมีข้อความต่อไปว่าภริยาจะไปดำเนินการฟ้องหย่า ก็ถือเป็นหนังสือหย่าที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และสามีและภริยาต้องลงลายมือชื่อลงในหนังสือหย่านั้นด้วย รวมถึงพยานอีก 2 ด้วย จึงจะเป็นหนังสือหย่าที่ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
          พยานในหนังสือหย่านั้นจะเป็นใครก็ได้ ผู้เยาว์ก็เป็นพยานได้แต่จะต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ การหย่าโดยความยินยอมจะทำโดยทำหนังสือหย่าด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ มีพระราชกฤษฎีกา
          ยกเว้นมิให้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ หากฝ่าฝืน ไม่มีผลเป็นการทำหนังสือหย่าตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นจะหย่ากันทาง Line หรือ Facebook ไม่ได้ แม้จะมีคนเป็นพยานในนั้นก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นการหย่ากันตามกฎหมาย

          ป.พ.พ. มาตรา 1515 “เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะ สมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว”
          – ถ้าสามีภริยาทำหนังสือหย่ากันถูกต้องแล้วแต่สามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า ภริยาสามารถฟ้องให้ศาล บังคับให้สามีไปจดทะเบียนหย่าได้ภายในอายุความ 10 ปี
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่าโจทก์มีเหตุฟ้อง หย่าจำเลยได้หรือไม่ โดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเหตุฟ้องหย่าดังกล่าวคือเหตุตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 เมื่อการฟ้องคดีเพื่อหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากเหตุตามมาตรา 1516 แล้วยังมีกรณีตามมาตรา 1515 อีกด้วย ฉะนั้นเมื่อมีการหย่าโดยความยินยอมแล้วแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยความยินยอมดังกล่าวย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามนัยมาตรา 1515 อีกฝ่ายหนึ่งจึงมีเหตุฟ้องให้ศาลพิพากษาให้มีผลเป็นการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามหนังสือยินยอมได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยทำบันทึกด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าพยาน 2 คน นอกเหนือไปจากเหตุตามมาตรา 1516 ดังนั้น การที่ศาลยกเอาบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็น หลักฐานการหย่าโดยความยินยอมแล้วพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สิทธิฟ้องร้องที่ระงับสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีตามมาตรา 1529 คือ สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516(1)(2)(3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 เป็นคนละกรณีกับการฟ้องขอให้จดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมตามมาตรา 1514 วรรคสอง และมาตรา 1515 ซึ่งมีอายุความฟ้องร้องภายในสิบปีนับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกตกลงการหย่าฉะนั้นเมื่อนับ แต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
          – การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ต้องมีเจตนาหย่าขาดกันจริง ๆ หากหย่ากันเป็นพิธี เช่น แก้เคล็ด แบบนี้หนังสือหย่าใช้บังคับไม่ได้ และหากเป็นการแสดงเจตนาลวง การหย่านั้นก็ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 155 หรือ ภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังคงอยู่กินด้วยกัน พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ยังคงดูแลและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นการจดทะเบียนหย่าโดยสมรู้กัน การจดทะเบียนหย่าตกเป็นโมฆะ การสมรสจึงยังคงมีอยู่ และมีผลทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินใช้บังคับไม่ได้
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2560 ภายหลังจากจำเลยกับ ส. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยกับ ส. ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน ทั้งจำเลยยังเป็นผู้ดูแล ส. เมื่อยามเจ็บไข้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่ง ส. ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยกับ ส. กระทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ประสงค์ให้ผูกพันตามนั้น จึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะเบิกความว่า เหตุที่จำเลยจดทะเบียนหย่าเพราะเหตุผลทางธุรกิจการค้าของจำเลย แตกต่างจากเหตุผลการหย่าในคำให้การก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยเสียไป เพราะเหตุผลการหย่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การแสดงเจตนา เมื่อการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีอยู่ มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการยกที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ ส. ใช้บังคับมิได้ จำเลยอ้างความเป็นโมฆะดังกล่าวใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกของ ส. ที่จะต้องรับไปทั้งสิทธิและความรับผิดต่าง ๆ ได้
          – หากทำหนังสือหย่าแล้วยังไม่ได้ไปจดทะเบียนหย่า ทั้งสองฝ่ายก็สามารถเลิกสัญญาหย่าได้โดยการแทงเพิกถอนและลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย
          – การจดทะเบียนหย่า สามีภริยาสามารถตั้งตัวแทนให้ไปจดทะเบียนหย่าแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องไปด้วยตนเอง

          2. หย่าโดยคำพิพากษาของศาล คือ กรณีที่ฝ่ายหนึ่งต้องการหย่า อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่า สามารถไปฟ้องหย่าได้ โดยต้องมีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1516 เท่านั้น จะอาศัยเหตุอื่นมาเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ และจะทำสัญญาก่อนสมรสกำหนดเหตุฟ้องหย่ากันไว้เองไม่ได้ด้วย

          ฟ้องหย่า มีอยู่ 10 เหตุ ดังต่อไปนี้
          (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณี กับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (1)
          (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
          (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
          (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
          (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสา มี ภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (2)
          (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (3)
          (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4)
          การละทิ้งร้าง หมายถึง การที่สามีภริยาแยกกันอยู่ต่างหาก โดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่อกัน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี จึงจะเป็นเหตุฟ้องหย่า โดย 1 ปีนี้ไม่ใช่อายุความเพราะอายุความยังไม่เริ่มนับ
          (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

>> แต่…มีข้อยกเว้นที่ไม่อาจ อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ดังนี้ <<

 

เหตุฟ้องหย่า

เหตุฟ้องหย่า

 

ฟ้องหย่า ฟ้องชู้  ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

โทร. 087-999-3841

เหตุฟ้องหย่า